วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของ ICT ด้านธุรกิจและเศรษฐกิจ

 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
           
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศ และเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านเศรษฐกิจ
            เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจได้หลายประการดังตัวอย่างเช่น
                       
1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (
E-Commerce) หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการดำเนินธุรกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ซื้อ (Customer) สามารถดำเนินการ  เลือกสินค้าคำนวณเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิตได้โดยอัตโนมัติ  ผู้ขาย (Business)สามารถนำเสนอสินค้า  ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้าโดยอัตโนมัติ  กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย

วงจรของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์
        
                                    รูปแบบการทำธุรกิจ การทำธุรกิจแบบ E-Commerceแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
                                               
1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ อาทิ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น
                                               
2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค อาทิ การขายสินค้าอุปโภคบริโภค
                                               
3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) หมายถึงธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศ เพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล
                                               
4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) หมายถึงธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

                                    ความสัมพันธ์ของระบบการค้าอิเล็กทรอนิคส์
E-Commerce
                                               
การดำเนินการธุรกิจการค้าบนอินเทอร์เน็ตหรือ E-Commerce จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการค้าบนอินเทอร์เน็ตหรือ E-Commerce มีดังนี้
                                                1.
ธนาคาร
(Bank) ทำหน้าที่เป็น Payment Gateway คือตรวจสอบ และอนุมัติวงเงินของผู้ถือบัตร เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า และ/หรือบริการ ทาง Internetผ่านระบบของธนาคาร และธนาคารจะโอนเงินค่าสินค้า และหรือบริการนั้น ๆ เข้าบัญชีของร้านค้า สมาชิก
                                                2.
TPSP
(Transaction processing service provider) คือองค์กรผู้บริหาร และพัฒนาโปรแกรม การประมวลผลการชำระค่าสินค้า และ/หรือบริการ ผ่าน Internet ให้กับร้านค้า หรือ ISPต่าง ๆ ผ่าน Gateway โดย TPSPสามารถต่อเชื่อมระบบให้กับทุก ๆ ร้านค้าหรือทุก ๆ ISP และทำการ Internet ระบบชำระเงินผ่าน Gateway ของธนาคาร 
                                                3.
ลูกค้า
(Customer) สามารถชำระค่าสินค้า และ/หรือบริการได้ด้วย บัตรเครดิต บัตรเครดิตวีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ดจากทุกสถาบันการเงินทั่วโลก  ระบบหักบัญชีเงินฝากของธนาคาร (Direct Debit)
                                                4.
ร้านค้า
(Merchant)ที่ต้องการขายสินค้าและ/หรือบริการผ่านระบบ Internet โดยเปิด Home Page บนSite ของตนเอง หรือ ฝาก Home Pageไว้กับ Web Site หรือ Virtual Mall ต่าง ๆ เพื่อขายสินค้าและหรือบริการผ่านระบบของธนาคาร  ร้านค้าจะต้องเปิดบัญชีและสมัครเป็นร้านค้าสมาชิก E-Commerceกับธนาคารก่อน
                                               
5. ISP (Internet service provider) องค์กรผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทาง Internet  ให้กับลูกค้า ซึ่งอาจเป็นร้านค้าหรือผู้ใช้ Internet ทั่วไป โดย ISP รับและจดทะเบียน Domain หรือ จะจัดตั้ง Virtual Mall เพื่อให้ร้านค้านำ Home Pageมาฝากเพื่อขายสินค้า
                                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น